รู้รอบเรื่อง ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ ที่เราอาศัยอยู่นั้นเป็นระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิกอยู่ด้วย ไม่ควรเรียกว่า ระบบสุริยะจักรวาลอย่างที่หลายๆคนชอบเรียกติดปาก เนื่องจากว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับจักรวาล ระบบสุริยะ ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่นๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เช่น ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และดาวบริวาร โลกเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3 โดยทั่วไป ถ้าให้ถูกต้องที่สุดควรเรียกว่า ระบบดาวเคราะห์ เมื่อกล่าวถึงระบบที่มีวัตถุต่างๆ โคจรรอบดาวฤกษ์

ชื่อของดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวงในระบบของเรา มันถูกตั้งชื่อตามเทพของชาวกรีก เพราะมีความเชื่อว่า เทพเหล่านั้นจะอยู่บนสวรรค์ และเคารพบูชามาแต่โบราณกาล ในสมัยก่อนนั้นจะรู้จักดาวเคราะห์เพียง 5 ดวงเท่านั้น โดยที่ไม่ได้นับดาวโลก สาเหตุที่นับได้ 5 ดวงเป็นเพราะว่าเห็นอยู่แค่นั้นและสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ประกอบกับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ รวมเป็นทั้งหมด 7 ทำให้เกิดวันทั้ง 7 ในสัปดาห์นั่นเอง โอ้ว มันช่างลึกซึ้งเหลือเกินนะเนี่ย ส่วนดาวเคราะห์อีก 3 ดวงคือ ดาวยูเรนัส เนปจูน พลูโต ถูกค้นพบภายหลัง แต่นักดาราศาสตร์เองก็เลยตั้งชื่อตามเทพของกรีกซะเลย เพื่อให้สอดคล้องกันนั่นเอง

ระบบสุริยะ คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite)

โลกที่เราอาศัยอยู่นั้นประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 9 ดวง ที่เราเรียกกันว่า ดาวนพเคราะห์ ( นพ แปลว่า เก้า) เรียงตามลำดับ จากในสุดคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ( ตอนนี้ไม่มีพลูโตแร้ว เหลือแค่ 8 ดวง ) และยังมีดวงจันทร์บริวารของ ดวงเคราะห์แต่ละดวง (Moon of sattelites) ยกเว้นเพียง สองดวงคือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ที่ไม่มีบริวาร ดาวเคราะห์น้อย (Minor planets) ดาวหาง (Comets) อุกกาบาต (Meteorites) ตลอดจนกลุ่มฝุ่นและก๊าซ ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจร ภายใต้อิทธิพลแรงดึงดูด จากดวงอาทิตย์

รู้รอบเรื่อง ระบบสุริยะ

ศูนย์กลางของระบบสุริยะ

อย่างที่เราทราบกันเป็นอย่างดีว่าศูนย์กลางของระบบสุริยะคือ ดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางประมาณ 93 ล้านไมล์ และมีขนาดใหญ่กว่าโลกมากกว่า 1 ล้านเท่า มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาวกว่าโลก 100 เท่า ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่มีแสงสว่างในตัวเอง ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของโลก อุณหภูมิของดวงอาทิตย์อยู่ระหว่าง 5,500 – 6,100 องศาเซลเซียส

วัตถุใน ระบบสุริยะ

ซึ่งวัตถุในระบบสุริยะของเราจะประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆดังนี้

  • ดาวบริวาร คือ วัตถุที่โคจรรอบดาวเคราะห์ ฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็กอื่นๆ ที่ประกอบกันเป็นวงแหวนโคจรรอบดาวเคราะห์ ขยะอวกาศที่โคจรรอบโลก เป็นชิ้นส่วนของจรวด ยานอวกาศ หรือดาวเทียมที่มนุษย์สร้างขึ้น
  • ดาวเคราะห์น้อย คือ วัตถุที่มีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ ส่วนใหญ่มีวงโคจรไม่เกินวงโคจรของดาวพฤหัสบดี อาจแบ่งได้เป็นกลุ่มและวงศ์ ตามลักษณะวงโคจร
  • ดาวบริวารดาวเคราะห์น้อย คือ ดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กที่โคจรรอบดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่กว่าหรืออาจมีขนาดพอๆ กัน
  • สะเก็ดดาว คือ ดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเท่าก้อนหินขนาดใหญ่ลงไปถึงผงฝุ่น
  • เซนทอร์ คือ วัตถุคล้ายดาวหางที่มีวงโคจรรีน้อยกว่าดาวหาง
  • วัตถุทีเอ็นโอ คือ วัตถุที่มีกึ่งแกนเอกของวงโคจรเลยดาวเนปจูนออกไป
  • วัตถุแถบไคเปอร์ มีวงโคจรอยู่ระหว่าง 30 ถึง 50 หน่วยดาราศาสตร์ คาดว่าเป็นที่กำเนิดของดาวหางคาบสั้น บางครั้งจัดดาวพลูโตเป็นวัตถุประเภทนี้ด้วย
  • วัตถุเมฆออร์ต คือ วัตถุที่คาดว่ามีวงโคจรอยู่ระหว่าง 50,000 ถึง 100,000 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นถิ่นกำเนิดของดาวหางคาบยาว
  • เซดนา วัตถุที่เพิ่งค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งมีวงโคจรเป็นวงรีสูงมาก ห่างดวงอาทิตย์ระหว่าง 76-850 หน่วยดาราศาสตร์ ไม่สามารถจัดอยู่ในประเภทใดได้
รู้รอบเรื่อง ระบบสุริยะ

จากที่กล่าวมาเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่สำคัญๆเท่านั้น จริงๆแล้วมันอาจจะมีมากกว่านั้นก็ได้ เพียงแค่เรายังไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยเทคโนโลยีใดๆบนโลกใบนี้ คงต้องรอนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นมาก่อน ขนาดโลกของเราเองเรายังรู้ไม่หมดเลยรวมถึงเคล็ดลัพธ์ดูแลสุขภาพผม แต่อย่างที่เราทราบอย่างแน่ชัดแล้วว่า โลกของเรา เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีสิ่งมีชวิต

มาต่อกันที่เรื่องศิลปะในประเทศไทยกันอย่างเช่น ART SPACE & MUSEUM สุดปังใจกลางกรุงเทพ เอาใจคนรักศิลปะ